Skip to content
Sukavej Hospital (โรงพยาบาลศุขเวช)
Menu
HOME
เกี่ยวกับเรา
ประวัติโรงพยาบาลศุขเวช
บริการ
Mobile Check up
ตรวจสุขภาพเคลื่อนที่
ตัวอย่างลูกค้า
โปรแกรมตรวจสุขภาพ
โปรแกรมตรวจสุขภาพพื้นฐาน
จัดตั้งห้องพยาบาล
รูปห้องพยาบาล
บริการวัคซีน
ขั้นตอนการปฏิบัติหลังรับวัคซีน
แนะนำ
วัคซีนป้องกันโรคสำหรับผู้สูงอายุ
วัคซีนป้องกันโรคสำหรับผู้ใหญ่ อายุ 27-64 ปี
วัคซีนป้องกันโรคสำหรับผู้ใหญ่ อายุ 19-26 ปี
วัคซีนป้องกันโรคสำหรับหญิงตั้งครรภ์
รูปฉีดวัคซีน
โรงพยาบาลผู้สูงอายุ
ติดต่อ
ออฟฟิศ ซินโดม
(Office Syndrome)
เป็นอาการที่เกิดขึ้นกับกลุ่มคนวัยทำงานโดยเฉพาะพนักงานออฟฟิศ เนื่องจากลักษณะงานเป็นงานที่ต้องนั่งหน้าคอมพิวเตอร์หรือทำงานอย่างใดอย่างหนึ่งด้วยท่าทางซ้ำๆ ต่อเนื่องเป็นระยะเวลานาน จนอาจส่งผลให้เกิดโรคและอาการต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นระบบกระดูกและกล้ามเนื้อ ระบบการย่อยอาหาร ระบบนัยน์ตาและการมองเห็น รวมไปถึงระบบอื่นๆ ได้อีกด้วย แต่อาการออฟฟิศซินโดรมจะส่งผลต่อระบบกระดูกและกล้ามเนื้อมากที่สุด ซึ่งอาการที่จะพบได้บ่อยคือ ปวดตึงที่คอและบ่า ถ้าเป็นมากๆ อาจมึนและปวดร้าวศีรษะ หรือมีอาการชาลงมาที่แขนได้ ซึ่งเกิดได้จากหลายปัจจัย อาทิเช่น เวลาทำงานนั่งผิดวิธี ต้องก้มคอ นั่งนานๆ เกร็งกล้ามเนื้อนานๆ รวมไปถึงการนั่งเวลานานติดต่อกันโดยไม่ได้มีการยืดเส้นหรือลุกจากที่นั่งเพื่อผ่อนคลาย โดยเบื้องต้นถ้าหากสำรวจตัวเองว่าเริ่มมีอาการออฟฟิศซินโดรม แนะนำให้ใช้วิธีประคบอุ่น รับประทานยาช่วยบรรเทาอาการ เช่น ยาคลายกล้ามเนื้อ ยาแก้อักเสบ แต่หากอาการไม่ดีขึ้นแนะนำให้พบแพทย์เพื่อทำกายภาพบำบัดในการรักษา อีกทั้งการดูแลตนเองในเบื้องต้นของพนักงานออฟฟิศ อันดับแรกควรเริ่มจากการนั่งให้ถูกวิธีโดยการนั่งตัวตรง พยายามอย่าก้มคอ นั่งให้ศีรษะตรง ปรับระดับเก้าอี้ให้พอดีกับโต๊ะ ระดับสายตาจะต้องตรงกับจอคอมพิวเตอร์ อย่าให้จอคอมอยู่ต่ำเกินไป ร่วมกับการมีที่พักแขน 2 ข้าง เพื่อที่ไหล่ของเราจะไม่ต้องยกเกร็งอยู่ตลอดเวลา อีกทั้งยังควรพักสายตาหลังจากใช้คอมพิวเตอร์เป็นระยะเวลานาน อย่างเช่น การมองออกไป ไกลๆ ในสถานที่โล่งๆ จะทำให้รู้สึกสบายตามากขึ้น แต่หากใช้คอมพิวเตอร์ติดต่อกันเป็นระยะเวลาหลายชั่วโมง แนะนำให้พักการใช้งาน แล้วทำอย่างอื่นเพื่อผ่อนคลาย จากนั้นค่อยกลับมาใช้คอมพิวเตอร์ ซึ่งเวลาว่างหลังจากการทำงานเสร็จแล้วหากจะให้ดีควรหาเวลาออกกำลังกายเพื่อให้กล้ามเนื้อมีการผ่อนคลาย อาทิ การวิ่งจ็อคกิ้ง , ปั่นจักรยาน หรือว่ายน้ำ เพราะในแต่ละวันหากกล้ามเนื้อต้องใช้งานติดต่อกันเป็นเวลานานหลายชั่วโมง จะทำให้เกิดการสะสม และกล้ามเนื้อจะเกร็งมากขึ้นเรื่อยๆ จนก่อให้เกิดออฟฟิศซินโดรมได้
บทความโดย : นายแพทย์ณัชพล คุณณะรักษ์ไทย แพทย์ผู้เชี่ยวชาญศัลยศาสตร์กระดูกและข้อเฉพาะทาง