วัคซีนป้องกันโรคสำหรับหญิงตั้งครรภ์

คำแนะนำการให้วัคซีนป้องกันโรคสำหรับ หญิงตั้งครรภ์

วัคซีนแนะนำ

วัคซีนบาดทะยัก - คอตีบ

ให้วัคซีน Td 1-2 เข็ม (ในกรณีที่เคยได้รับวัคซีน TT หรือ TD มาก่อน)

วัคซีนบาดทะยัก - คอตีบ - ไอกรน ชนิดไร้เซลล์

ให้วัคซีน Tdap แทน Td 1 ครั้ง ในอายุครรภ์ไตรมาสที่ 3 และให้ฉีดซ้ำในการตั้งครรภ์ครั้งถัดไป โดยไม่ต้องคำนึงว่าเคยได้รับ Td หรือ Tdap ครั้งสุดท้ายเมื่อใด

จุดประสงค์เพื่อป้องกันโรคไอกรนในมารกแรกเกิด พบว่าวัคซีนป้องกันโรคในทารกแรกเกิดได้ดีที่สุดในกรณีที่มารดาได้รับการฉีดวัคซีน Tdap ในขณะตั้งครรภ์ หากไม่ได้ฉีดวัคซีน Tdap ขณะตั้งครรภ์แนะนำให้ฉีดทันที หลังคลอด เพราะจะต้องดูแลใกล้ชิดกับทารกเพื่อป้องกันการติดเชื้อไอกรนในทารก
แนะนำ : ให้ฉีด Tdap ให้ผู้ใหญ่ทุกคนในบ้านในกรณีที่มีทารกอายุน้อยกว่า 1 ปี ในบ้าน (cocooning strategy) โดยไม่ต้องสนใจว่าผู้ใหญ่ได้ฉีดวัคซีน Td ครั้งสุดท้ายเมื่อไหร่
ไม่ควรให้วัคซีน

อีสุกอีใส, หัด-คางทูม-หัดเยอรมัน,เอชพีวี,ไข้เลือดออก,งูสวัด ในกลุ่มหญิงตั้งครรภ์

อาการข้างเคียงและการดูแลหลังจากได้รับวัคซีน​

วัคซีนที่ใช้ในปัจจุบันส่วนใหญ่มีความปลอดภัยสูง

แต่ยังคงพบอาการข้างเคียงได้บ้าง ซึ่งส่วนใหญ่ไม่รุนแรง และยอมรับได้ และหายไปในระยะ 2-3 วัน

อาการข้างเคียงของวัคซีนมีความแตกต่างกันไปตามประเภทของวัคซีน

ซึ่งวัคซีนเชื้อตาย มักทำให้เกิดอาการข้างเคียงได้เร็วหลังจากได้รับวัคซีน โดยเฉพาะเรื่องไข้ ส่วนวัคซีนเชื้อเป็นมักมีอาการข้างเคียงคล้ายกับอาการของโรคนั้น ซึ่งพบได้ไม่บ่อยนัก และอาการมักเกิดขึ้นหลังจากได้รับวัคซีนไปแล้วหลายวันอาการข้างเคียงหลังได้รับวัคซีนมี 2 ประเภทใหญ่ๆ คือ

การรักษาอาการข้างเคียงอาจทำได้โดยกระประคบน้ำอุ่นบริเวณที่บวม

ซึ่งจะช่วยให้ทุเลาลง หรืออาจให้ยาแก้ปวดลดไข้ร่วมด้วย ควรปรึกษาแพทย์ในกรณีที่อาการรุนแรง หรือไม่ดีขึ้นภายใน 2-3 วัน

อ้างอิง : โอฬาร พรหมาลิขิต และคณะ วัคซีน น่ารู้.กรุงเทพฯ: สมาคมกุมารแพทย์แห่งประเทศไทย 2548 ขอบคุณข้อมูล บริษัท ชาโนฟี่ ปาสเตอร์ จำกัด

This website uses cookies.